Search

กฎหมายประมงไม่ทำร้ายใคร...เป้าหมายเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชาวประมงและทรัพยากรสัตว์น้ำที่ยั่งยืน - มติชน

sportkaleo.blogspot.com
นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำในลำดับต้นของโลก เป็นสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศในอันดับต้นของประเทศ ในขณะที่อาชีพประมงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากมาย แต่การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่มีการจัดทำรายงาน และไร้การควบคุม ย่อมส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติสัตว์น้ำ ลดทอนและทำลายความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำและความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรทางทะเล จนอาจไม่มีเหลือให้รุ่นลูกรุ่นหลานไว้ใช้ประโยชน์ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลให้ความสำคัญกับพี่น้องชาวประมงให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและทำการประมงได้อย่างยั่งยืน แม้ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบังคับใช้เพื่อไปสู่เป้าหมายความสำเร็จก็ตาม แต่ก็ได้ผ่อนปรนขอบเขตให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดมิติของความพอดี และเดินหน้าต่อไปด้วยกันได้  เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดขึ้นมาเพื่อทำร้ายอาชีพการประมง แต่กำหนดมาเพื่อสร้างความพอดี ยั่งยืน

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า หากย้อนกลับไปก่อนปี พ.ศ.2558 การประมงของประเทศไทยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรประมงตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ที่เน้นการบริหารจัดการการประมงแบบ Open Access ทุกคนมีสิทธิได้รับใบอนุญาตทำการประมงหากมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่มีระบบควบคุมจำนวนเรือประมง และระบบติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำการประมง ส่งผลให้ประเทศไทยประสบปัญหาการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (illegal Unreported and Unregulated fishing , IUU) รวมถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งที่อยู่อาศัยทางทะเล ความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจของรัฐชายฝั่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขสถานการณ์ คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้มีการออกพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 เป็นกรณีจำเป็นและเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ป้องกันการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา โดยกำหนดหลักการใหม่ในการควบคุมการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำ การควบคุมเรือประมงไทยในการทำการประมงและการขนถ่ายสัตว์น้ำ การตรวจสอบย้อนกลับ การกำหนดมาตรการคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเลและในโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์น้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ การกำหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมการนำเข้าสัตว์น้ำและการแจ้งข้อมูลการเข้าเทียบท่าของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย การกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองควบคู่กับโทษทางอาญาในความผิดบางประเภท การปรับปรุงบทกำหนดโทษให้มีความเหมาะสมโดยใช้โทษปรับทางอาญาในการป้องกัน ระงับ และยับยั้งการกระทำความผิดที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางทรัพยากรสัตว์น้ำและการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนการเพิ่มมาตรการในการควบคุม เฝ้าระวัง สืบค้น การตรวจสอบย้อนกลับที่มาของสัตว์น้ำ และตรวจสอบการประมง อันเป็นการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ภายใต้วัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และมีการบริหารจัดการเชิงพื้นที่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับแต่ละจังหวัด ทั้งในเรื่องของการทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การอนุรักษ์ ฯลฯ ผ่านคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานทั้งนี้ สิ่งที่เกษตรกรหรือชาวประมงจะได้รับประโยชน์จากการบังคับใช้กฎหมายการประมง คือ ประเทศไทยจะมีทรัพยากรประมงที่อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดความมั่นคงทางอาหารอย่างยังยืน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบอาชีพการประมง ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้ผลผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีคุณภาพ และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับการส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของตลาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพการประมง และประชาชนทั่วไป มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว เนื่องจากทรัพยากรสัตว์น้ำมีเพียงพอสำหรับการบริโภคอย่างยั่งยืน ผลประกอบการของเกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพการประมง ตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศไทยเจริญเติบโตต่อไปอย่างมั่นคง เนื่องจากสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นที่ต้องการและสามารถจำหน่ายได้ทั่วโลก นอกจากนี้ จะช่วยให้การทำการประมงมีการบริหารจัดการเป็นระบบ มีกระบวนการช่วยเหลือหรือสนับสนุนประมงพื้นบ้านและชุมชนประมงท้องถิ่น ตลอดจนลดความขัดแย้งระหว่างประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ในขณะที่แรงงานในภาคการประมงซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนการประมงก็จะได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพในการทำงาน ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานดีขึ้น ซึ่งเดิมเรือประมงพื้นบ้านบางกลุ่มแทบจะไม่ได้รับสิทธิใดๆ จากภาครัฐ เหตุผลเพราะความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและเลือกอยู่ในมุมที่ตัวเองเลือก เพราะคิดว่าตัวเองคือคนจน แต่หากพี่น้องชาวประมงกลุ่มนี้เปิดใจเข้ามาสู่ระบบการบริหารจัดการที่ดีภายใต้กฎหมายที่รองรับด้วยหลักวิชาการ ก็จะหลุดพ้นจากมุมมืดและมีความสุขมากขึ้น

ทั้งนี้ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ กรมประมงไม่ได้มองเพียงแค่สัตว์น้ำในทะเล แต่ยังรวมถึงสัตว์น้ำจืดด้วย โดยมองทุกมิติจากภูผาสู่มหานที รวมถึงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำต่างๆ ที่เรามีอยู่ในประเทศ ให้สามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำได้ โดยมีเป้าหมายคืออยากให้ชาวประมงมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ ณ วันนี้ กระบวนการรับรู้ของชาวประมงต้องคิดกลับ จะทำเหมือนเดิมไม่ได้อีกต่อไป ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและพฤติกรรมการทำประมงใหม่ ทุกคนต้องมีจิตสำนึกและทำการประมงที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อมีการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำ ทั้งทางทะเลและแหล่งน้ำจืดที่เหมาะสมและใช้ประโยชน์ได้สูงสุด การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดของกรมประมง ไม่ได้เป็นการขัดขวางการทำประมงแต่เป็นการรักษาผลประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำไว้ให้ชาวประมงได้ทำการประมงได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันถือว่าเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านระหว่าง พรบ.ฉบับเดิมและฉบับใหม่ การเรียนรู้ของคนคนหนึ่ง แม้จะมีองค์ความรู้ผ่านประสบการณ์มาเป็นอย่างดี แต่ขาดประสบการณ์ด้านกฎหมาย เมื่อต้องปรับตัวเข้าสู่ระบบการทำประมงที่ถูกกฎหมาย ก็เป็นเรื่องยากที่จะเกิดการยอมรับ กรมประมงจึงได้จัดทำคู่มือการทำประมง สำหรับแจกให้กับชาวประมงได้ศึกษา สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องและเข้าใจ เพื่อให้เกิดการยอมรับ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการคือความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ซึ่งเป็นผู้ออกกฎหมายภายใต้หลักวิชาการและสังคมยอมรับ กับบุคคลที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย นั่นคือพี่น้องชาวประมง หากทุกคนยอมรับและปฏิบัติตามกติกา ทรัพยากรสัตว์น้ำก็จะไม่หายไปไหน เพราะวัตถุประสงค์ของการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดของกรมประมง ไม่ได้มุ่งหวังที่จะขัดขวางการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวประมง แต่เป็นการรักษาผลประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำไว้ให้ชาวประมงได้ใช้ประโยชน์สูงสุดและเหมาะสม“รัฐบาลให้ความสำคัญกับพี่น้องชาวประมง พยายามผ่อนปรน สิ่งไหนที่เกินขอบเขตก็พยายามปรับลดให้เหมาะสม สิ่งไหนที่ยังขาดก็พยายามเติมเต็มเพื่อให้เกิดมิติของความพอดีและเดินต่อไปด้วยกันได้ ซึ่งนโยบายของ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านมุ่งเน้นให้คืนความสุขกับพี่น้องชาวประมง ในการอนุรักษ์สัตว์น้ำให้พี่น้องชาวประมงได้ประกอบอาชีพ แต่การคืนความสุขนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากพี่น้องชาวประมงในการช่วยดูแล และต้องเกิดการยอมรับ โดยมีเป้าหมายให้ทรัพยากรสัตว์น้ำกลับคืนมาเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน”อธิบดีกรมประมงกล่าวทิ้งท้าย

QR Code LINE @Matichon

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

LINE @Matichon

บทความก่อนหน้านี้MEA ฉีดน้ำล้างลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า Hotline ไม่ดับไฟ บำรุงรักษาอุปกรณ์เพิ่มความมั่นคงระบบไฟฟ้า
บทความถัดไปศบค.เผย 6 ใน 10 รายใหม่ ติด ‘โควิด-19’ เป็น ‘ทหารไทย’ กลับจากฮาวาย

matichon

Let's block ads! (Why?)




July 24, 2020 at 12:24PM
https://ift.tt/2OT0KXG

กฎหมายประมงไม่ทำร้ายใคร...เป้าหมายเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชาวประมงและทรัพยากรสัตว์น้ำที่ยั่งยืน - มติชน

https://ift.tt/2Y3VpRs


Bagikan Berita Ini

0 Response to "กฎหมายประมงไม่ทำร้ายใคร...เป้าหมายเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชาวประมงและทรัพยากรสัตว์น้ำที่ยั่งยืน - มติชน"

Post a Comment

Powered by Blogger.