สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านฯ บุกทำเนียบ ทวงสัญญา “บิ๊กตู่” 14 ข้อ ไม่คืบ ปัญหากลับหนักเพิ่มขึ้น ร้องเปลี่ยนการจับปลาปรมงพาณิชย์ จากกำหนดวันทำประมง เปลี่ยนเป็นโควตาจับสัตว์น้ำ ขู่ชุมนุมจนกว่าจะได้รับคำตอบ
รายงานข่าวจากศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 (สนง.กพ.เดิม) นำโดยนายสะมะแอ เจะมูดอ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย พร้อมสมาชิก 15 คนนำโดยยังทำเนียบรัฐบาล ยื่นหนังสือถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาเนื่องจากไม่มีความคืบหน้าหลังกลุ่มประมงพื้นบ้านได้นำเสนอปัญหาต่อรัฐบาล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และหลายกรณีกลับมีสถานการณ์ปัญหาที่รุนแรงขึ้น เช่น ปัญหานายทุนยึดพื้นที่เพาะเลี้ยง ปัญหาการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยเครื่องมือการประมงศักยภาพสูง รวมทั้งปัญหาความเหลื่อมล้ำของสัดส่วนในการจับสัตว์น้ำมีมากขึ้น ทั้งหมด 14 ข้อ
โดยเรียกร้องให้รัฐบาลต้องหยุดยั้งการประมงที่ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยการกำหนด ชนิด ขนาด และสัดส่วน พันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ห้ามทำการประมงช่วงวัยอ่อน, ให้รัฐบาลออกระเบียบควบคุมการใช้เครื่องมืออวนล้อมจับ ลดจำนวนของเรือปั่นไฟจับสัตว์น้ำที่ใช้อวนตาถี่ และกำหนดให้เรืออวนลากคู่ทำการประมงในระยะห่างจากชายฝั่งทะเล 15 ไมล์
.
เปลี่ยนการกำหนดโควตาการจับสัตว์น้ำ จากจำนวนวัน (240 วัน) เป็นปริมาณน้ำหนักที่แท้จริง เพราะการให้โควตาเป็นจำนวนวันดังกล่าว เป็นการใช้ทรัพยากรที่ไม่ยั่งยืนและไม่เป็นธรรมกับชาวประมงพื้นบ้าน เนื่องจากเรือประมงขนาดใหญ่สามารถใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการจับสัตว์น้ำได้มากกว่า โดยข้อมูลปี 2562 พบว่า กลุ่มประมงพาณิชย์จับสัตว์น้ำไปถึง 1.4 ล้านตัน แต่ชาวประมงพื้นบ้านจับได้แค่ 1.6 แสนตัน
.
แก้ไขปรับปรุงกฎหมายพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 บางส่วน เพื่อให้เป็นธรรมกับประมงพื้นบ้าน, จัดตั้งกองทุนประมงพื้นบ้านและสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาการประมงพื้นบ้านแบบครบวงจร โดยสนับสนุนกองทุนประมงพื้นบ้านลงถึงแต่ละจังหวัด เน้นส่งเสริมตามระดับกิจกรรม ทั้งในด้านต้นทุนการประมง การอนุรักษ์ทรัพยากร ช่วยเหลือยามเกิดภัยพิบัติและกรณีเครื่องมือเสียหายหรือเครื่องมือหายโดยไม่ทราบสาเหตุ
จัดตั้ง “โรงเรียนชาวประมงยั่งยืน” เพื่อตอบสนองการประมงสมัยใหม่ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับภูมิปัญญาและหลักความเชื่อชุมชนได้อย่างมีเหตุผล โดยให้ผู้นำชาวประมงตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนร่วมควบคุมบริหารจัดการ ให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่เผยแพร่ความรู้การทำประมงพื้นบ้านหรือประมงพาณิชย์ที่รับผิดชอบ โดยหลักสูตรอาจประกอบด้วย หลักการทำประมงรับผิดชอบ ภูมิอากาศ ทักษะการจับปลา ความปลอดภัยกฎหมาย และมีการรับรองเมื่อจบหลักสูตร หากไม่ได้คำตอบถึงความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม กลุ่มประมงพื้นบ้านอาจปักหลักชุมนุมที่กรุงเทพฯ จนกว่าจะได้รับคำตอบที่ชัดเจน
ข้อเรียกร้อง 14 ข้อ
September 02, 2020 at 08:00PM
https://ift.tt/34Y3A6R
ประมงพื้นบ้านทวงสัญญารัฐ 14 ข้อ - ฐานเศรษฐกิจ
https://ift.tt/2Y3VpRs
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ประมงพื้นบ้านทวงสัญญารัฐ 14 ข้อ - ฐานเศรษฐกิจ"
Post a Comment